Saturday, 27 April 2024
แพท แสงธรรม

University Ranking จะเลือกเรียนตามอันดับ หรือ เลือกคิดอย่างลุ่มลึก

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดยแบ่งตามสาขาวิชาจาก QS University Ranking by Subject 2022 น่าจะช่วยให้ผู้สนใจเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก ภายใต้ ‘การรับรู้’ คุณสมบัติ ดีกรี ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยดังๆ ในโลก ได้เปิดใจมองเห็นภาพที่แตกต่างว่า เราควรเลือกเรียน เพราะ ‘อยากรู้’ ในศาสตร์หรือสาขาที่เยี่ยมยอดแค่ไหนมากขึ้น ภายหลังจาก ‘วิทยาลัยดุริยางคศิลป์’ (College of Music) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับเข้า Top 50 เป็นครั้งแรก

ผมกำลังหมายถึงอะไร?

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในโลกนั้น ใช้ตัวแปรหลายอย่าง ทั้งจำนวนสาขาวิชาที่เปิด / ความเพียบพร้อมทางเทคโนโลยี / อัตราส่วนอาจารย์และนักศึกษา / จำนวนงานวิจัย / บัณฑิตในระดับปราชญ์ชั้นสูงที่ผลิตได้ / ความหลากหลายทางเชื้อชาติ และอีกหลายมิติ นั่นจึงทำให้บรรดาสถาบันที่ทำการจัดอันดับ จึงมักจะประกาศผลการจัดอันดับที่ไม่ตรงกันเท่าไรนัก

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในทุกประเทศทั่วโลก ที่มีมากกว่า 31,097 แห่งนั้น จะมีวิธีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ด้วยการประกาศอันดับที่ Top 500 หรือมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 500 อันดับแรก และมหาวิทยาลัยที่ ไม่ติดอยู่ใน Top 10 หรือ Top 20 ก็อาจถูกมองว่า ‘ไม่ดีจริง’ ในสายตาของผู้ที่คุ้นเคยกับการจัดอันดับที่ใช้แค่หลักสิบ

อย่างไรก็ตาม จำนวนมหาวิทยาลัย 500 แห่ง ก็ถือว่าเป็นดีกรีที่ไม่เลว เพราะถือเป็นสัดส่วนราว 1.6% หากวัดจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 3 หมื่นแห่ง ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจในระดับหนึ่ง

แต่ผมก็ไม่อยากให้พวกท่าน ถูกลวงด้วยเลข 500 โดยไม่ดูมวลรวมทั้งหมดของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ทั่วโลกนะ!!

ที่ผมว่าเช่นนั้น เพราะการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 500 อันดับแรก ยังถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยมาก และควรมีการขยายการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยให้มากกว่าหลักร้อย ไปสู่อย่างน้อยก็หลักพัน เพราะในการจัดอันดับเป็นหลักร้อยนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะได้ ‘จำนวน’ มหาวิทยาลัยเข้าอันดับครบ เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยที่ได้คะแนนเสมอกันอยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นอันดับที่คะแนนเท่ากัน จะทำให้อันดับที่ตามมาหายไป เช่น อันดับ 50 มี มหาวิทยาลัยได้คะแนนเท่ากัน 10 แห่ง จะทำให้ไม่มีอันดับ 51-60 อันดับ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น หากหันไปมอง มหาวิทยาลัยเก่าแก่ ระดับโลก และเป็นที่ยกย่องยอมรับกัน ทั้งในวงการวิชาการระดับสูง และโดยประชาคมโลกมานานหลายทศวรรษ/ศตวรรษนั้น ล้วนรักษาคะแนนรวม (Overall) จนรักษาอันดับของตนเองไว้ได้ในอันดับต้นๆ จะมีเปลี่ยนแปลงขึ้นลงบ้างเล็กน้อยในแต่ละปี ส่งผลให้อันดับที่แตกต่างนั้น ไม่ได้มหาศาล แต่ต่างกันเพียงแค่หลัก ‘ทศนิยม’ เช่น Harvard อันดับ 5 (คะแนนรวม 98), Stanford และ Cambridge อันดับ 3 ทั้งคู่ (คะแนนรวม 98.7), California Institute of Technology ในเมืองพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย อันดับที่ 6 (คะแนน 97.4), Imperial College ลอนดอน อันดับที่ 7 (คะแนน 97.3) หรือจากมหาวิทยาลัย ในอันดับช่วง Top 20 เช่น Nanyang Technological University (NTU) สิงคโปร์ อันดับที่ 12 (คะแนน 90.8), ส่วน University of Pennsylvania อันดับที่ 13 (คะแนน 90.7) แต่ University of Pennsylvania ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Penn เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่ม Ivy League และมีความเก่าแก่ 282 ปี ส่วน NTU แม้เปิดมาได้เพียง 40 ปี แต่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และอยู่ในอันดับ Top 80 ตลอดมา

สังเกตได้ว่า ปัจจัยในการเลือก ไม่สามารถจะมองเพียงตัวเลขที่เรียงอันดับ 1-2-3 แบบไร้มิติได้ เพราะคะแนนที่ต่างกันเป็นจุดทศนิยม ในแต่ช่วงอันดับ ยังบ่งบอกถึงมาตรฐานสูงในระดับเดียวกันอยู่

สิ่งที่ผมกำลังจะบอก คือ หากผู้เรียน ไม่ได้ติดตามคุณภาพของสถาบัน และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในโลก ด้วยข้อมูลเชิงลึก ก็จะยึดติดกับอันดับของมหาวิทยาลัย หรือคำบอกเล่าแบบต่อๆ กันมา กลับกันผู้ที่เรียนเก่ง หรือมีความจริงจังทางด้านวิชาการ ไม่ว่าสาขาใดก็ตาม พวกเขามักจะศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างมีมิติ มากกว่ามองแค่ Top 10, Top 50 หรือ Top 200 

ถึงกระนั้นเรื่องของอันดับ ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีผลต่อการประเมินคุณภาพ มันยังสำคัญ!! และสะท้อนถึงความก้าวหน้าของมิติด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนั้นๆ จนถีบตัวเข้าสู่ทำเนียบแห่งความเป็นสากล!!

อย่างการเข้าอันดับ Top 50 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในสาขาการแสดงทางศิลป์และดนตรี ในปี 2022 นี้ ภายใต้ QS University Ranking by Subject ก็ยืนยันถึงความก้าวหน้าของ College of Music (CMMU) หรือ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ชัดเจน เพราะหากวัดระยะเวลาเพียง 28 ปี นับจากวันสถาปนาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ในปี 2537 แล้วนั้น CMMU ได้แสดงตัวตนให้แวดวงการศึกษาดนตรี รับรู้ได้ถึงการมีตัวตน มีเสียง และมีพลัง จนโลกได้รู้จักวิทยาลัยด้านดนตรี จากประเทศเล็กๆ และเป็นประเทศที่ประชาคมโลกจำนวนมาก มองไม่เห็นถึงความเป็นสากลทางด้าน Performing Arts นั้นต้องหันมาเหลียว!!

ทั้งนี้ หากมองอันดับ Top 10 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ในสาขา Performing Arts รายชื่อสถาบันและมหาวิทยาลัย เช่น Royal College of Music (ลอนดอน), The Juilliard School (นิวยอร์ค), Royal Academy of Music (ลอนดอน), Curtis Institute of Music (ฟิลาเดลเฟีย) หรือ University of Music and Performing Arts Vienna (เวียนนา) ล้วนเป็นสถาบันทางดนตรี และการแสดง ที่อยู่ในระดับศักดิสิทธิ์ มีความขลังสูงสุด และผู้ที่จะผ่านการคัดเลือกเข้าไปเรียนในสถาบันเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นหัวกะทิ หรืออัจฉริยะทั้งสิ้น ไม่ต่างจาก หัวกะทิในสาขาแพทย์, กฎหมาย, วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยอันดับต้นของโลก

ส่วนในอันดับ Top 30 ของมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศในสาขาการแสดงและดนตรี ยังเป็นสถาบันอันเก่าแก่ เช่น Royal Academy จากซาลซ์บูร์ก ออสเตรีย, สถาบันจากเดนมาร์ก, จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, จากสวีเดน, จากมอสโก และมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ต่อด้วย Cambridge, Oxford, Yale, Columbia, UCLA มหาวิทยาลัยเหล่านี้ มีชื่อเสียงมานับร้อยปี อีกทั้งอยู่ในประเทศที่พลเมืองมีดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เยาวชนเติบโตมาด้วยโอกาสทางดนตรีและการแสดง ที่มีทั่วไป ชนชั้นกลางสืบทอดทักษะทางดนตรีให้กับลูกหลาน และทำให้เยาวชนพัฒนาทักษะจนสามารถแข่งขันเข้าเรียนในสถาบันอันมีชื่อเสียงได้

‘SOFT POWER’ จะ Soft อะไร...กันหนักหนา ?

คำว่า “Soft Power” ได้ยินกันบ่อยในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา จากปรากฏการณ์ ลิซ่า BLACKPINK ที่โด่งดังไปทั่วโลก หรืออาคาร Thailand Pavilion ในบริเวณงาน EXPO ที่ดูไบ รวมไปถึงเวทีประกวดนางงามต่าง ๆ ที่นำคำว่า Soft Power มาใช้ ไปจนถึงการอ้างว่า Soft Power คือทางรอดของเศรษฐกิจไทย

อาคาร Thai Hospitality

ทำไมงานบันเทิง เช่น ลิซ่า BLACKPINK จะมีอำนาจอันนุ่มนวล (Soft Power) หรือการแนะนำของดีเมืองไทย และการประกวดนางงามจะมีอำนาจอะไร ความหมายที่แท้จริงคืออะไร...?? 

ย้อนไปเมื่อครั้งที่ Gangnam Style ได้รับความนิยมถล่มทุกพื้นที่ในโลก ในปี 2012 ผู้คนจากทั่วโลกเริ่มสนใจเกาหลีใต้ ทั้งในมิติของดนตรี วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง และทำให้เกิดกระแสเกาหลีนิยมในอเมริกา ในระดับที่วง BTS มีซิงเกิลขึ้นอันดับหนึ่งของ Billboard ตามด้วยภาพยนตร์ Parasite (2019) ได้รางวัลออสการ์ถึง 4 รางวัล รวมทั้งสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แล้วตอกย้ำศักยภาพของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีอีกครั้งในปี 2021 เมื่อนักแสดงเกาหลี ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงสมทบยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง Minari อีกทั้งความนิยมต่อซีรีส์ Squid Game ที่แรงจนไม่มีกำแพงใดจะขวางกั้นเชื้อชาติของผู้ชมได้

เหตุการณ์เหล่านี้ เปลี่ยนทัศนะของผู้คนในประเทศตะวันตก จากที่เห็นว่ายังอยู่ในความเชื่อเก่า ๆ และรสนิยมล้าหลัง มาเป็นโลกทัศน์ใหม่ ได้เห็นความทันสมัย ความประพฤติและกรอบความคิดของชาวเกาหลีใต้ อคติที่เคยมีต่อแบรนด์เกาหลีใต้เริ่มลดลง ความนิยมต่ออาหารเกาหลีเพิ่มขึ้น และหากไม่มีโควิด-19 เป็นอุปสรรค ยอดนักท่องเที่ยวสู่เกาหลีต้องเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

แต่ความนิยมต่อสิ่งเหล่านี้ ถือว่าเป็น อำนาจ (Power) หรือไม่? 

คำว่า “อำนาจ” หมายถึงอิทธิพล หรือวิธีการ ที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ คำว่า soft power ปรากฏให้เห็นในช่วงยุค 1980s หรือกว่า 30 ปีมาแล้ว โดย โจเซฟ นัย (Joseph Nye) อาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ให้นิยามว่า เป็น “การใช้อำนาจที่ไม่ใช่กำลังทางกายภาพ เช่นกองทัพ หรืออาวุธ แต่ใช้วิธีการชักจูง เกลี้ยกล่อม ทำให้หลงใหล เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ต้องการ” และอธิบายว่า soft power คือการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ที่ไม่รู้ว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ อาจารย์โจเซฟ ได้อธิบายคำศัพท์นี้อีกครั้งในช่วงเข้าสู่ สหัสวรรษ 2000 ทำให้คำว่า soft power แพร่หลายยิ่งขึ้น

หากไทยรั้งท้าย!! อันดับ ‘การสื่อสารภาษาอังกฤษ’ ด้อยค่าประเทศหรือไม่ !!?

ENGLISH PROFICIENCY RANKING อันดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

“ก่อนอื่น จะเชื่อการจัดอันดับทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่ทำขึ้นมานี้เพียงใด ต้องรู้จักผู้จัดทำอันดับเสียก่อน...”

EF ย่อมาจาก “Europeiska Ferieskolan” ซึ่งเป็นภาษาสวีดิช การที่ย่อเหลือ “EF” ไม่ใช่มหาวิทยาลัย หรือสถาบันวิชาการ แต่เป็นโรงเรียนสอนภาษา ที่เป็น “บริษัท” ดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ ก่อตั้งขึ้นในยุค 60s โดย “Bertil Hult” นักเดินทางท่องโลกวัย 24 ปี ที่ได้พบว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็น และได้ใช้แนวคิด การเดินทางเพื่อเรียนรู้ภาษา (Language Travel) จึงเปิดบริษัทขึ้น และพานักเรียนมัธยมในสวีเดน ไปเรียนภาษาอังกฤษในประเทศอังกฤษ

แนวคิดดังกล่าวใช้เป็นแนวทางในการขยายธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันนอกจากสอนภาษาอังกฤษในระดับต่าง ๆ ทั้งในกลุ่มนักเรียน (อายุ 13-18 ปี) จนถึงผู้ทำงาน และนักธุรกิจ ยังเป็นเอเยนต์ในการติดต่อ หาที่เรียน ให้กับผู้ต้องการเรียนภาษาและด้านอื่น ๆ ในต่างประเทศ จัดทัวร์ และจัดหาโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปเรียนในต่างประเทศ

ปัจจุบัน EF เป็นสถาบันการศึกษา ที่สอนทั้งภาษาและความรู้สาขาอื่น ๆ และ EF ที่ยังหมายถึง Education First  มีสาขาใน ไมอามี่ - ซูริค - ดูไบ - ลอนดอน นอกจากหลักสูตรต่าง ๆ แล้ว ยังได้ทำงานวิจัยโดยได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง 

>> การจัดอันดับของ EF มาจากการสำรวจออนไลน์
การสำรวจออนไลน์ กับโลกแห่งความเป็นจริง ไม่เหมือนกันเสมอไป ดังนั้น เราจึงไม่ต้องปักใจเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราได้เดินทางไปสัมผัสโลกกว้างมาแล้ว และได้ประสบมาด้วยตนเองว่าทักษะภาษาอังกฤษของผู้คนในประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างไร ลองนึกถึงร้านสะดวกซื้อในฮ่องกง หากจะไปซื้อซิมการ์ด หรือหากาวสักหลอด พนักงานจะสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ขณะที่พนักงานวัยรุ่นร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพฯ จะประกอบประโยคง่าย ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่เป็นคนต่างชาติ

ส่วนที่ญี่ปุ่น ไม่ต้องพูดถึง ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น Telephone, Sim card, Charger, Toothbrush พูดช้า ๆ พนักงานที่เป็นวัยหนุ่มสาวยังเรียนหนังสืออยู่ก็ไม่เข้าใจ ขอบคุณ Google Translate ที่ทำให้พนักงานเข้าใจความต้องการของลูกค้าต่างชาติ

เมื่อ 5 ปีก่อน EF Efficiency Index อธิบายว่า ประเทศในทวีปเอเชีย มีระดับทักษะภาษาอังกฤษต่ำ เพราะหลาย ๆ ประเทศ ให้เรียนภาษารัสเซีย เป็นภาษาที่สอง มากกว่าภาษาอังกฤษ... จริงหรือ? ประเทศใด?

ในการเก็บข้อมูล EF ทำการสำรวจกับประชากร ประมาณ 2 ล้านคน จาก 112 ประเทศ โดยแต่ละประเทศ ใช้กลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อย 400 คน และใช้คะแนนเฉลี่ยเป็นดัชนีชี้วัดทักษะภาษาอังกฤษของแต่ละประเทศ การสำรวจในปี 2020 มีผู้ทำข้อสอบเป็นเพศหญิง 53% อายุเฉลี่ยของผู้สอบคือ 26 ปี ผู้ที่เข้าสอบ เลือกสอบด้วยตนเอง EF ไม่มีค่าตอบแทนหรือรางวัลใด ๆ ให้กับผู้สมัครเข้าสอบ แรงจูงใจของผู้สอบคือต้องการทราบระดับทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง และเป็นการสอบ Online ดังนั้นผู้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าอยู่ส่วนใดของประเทศสามารถเข้าสอบได้ 30% ของผู้เข้าสอบ ทำการสอบด้วยโทรศัพท์มือถือ

แม้ว่าในการสมัครเข้าสอบ ผู้สมัครจะต้องระบุว่าเรียนจบแล้ว แต่การคัดเลือกดังกล่าว หมายถึงผู้เข้าสอบที่มีระดับความรู้ภาษาอังกฤษต่ำมาก แต่ต้องการวัดระดับทักษะของตนเอง ในขณะที่ผู้มีทักษะภาษาอังกฤษดี หรือดีมาก หรือใช้ได้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ไม่สนใจที่จะสมัครสอบ ไม่มีเวลาและคะแนนจาก EF ไม่ได้นำไปใช้สำหรับการศึกษาต่อหรือสมัครงาน เช่น IELTS, TOEIC หรือ TOEFL

>> ความน่าเชื่อถือของการจัดอันดับ
ประเทศจีนมีประชากร 1.4 พันล้านคน 1% คือ 140 ล้านคน 0.1% เท่ากับ 1.4 ล้านคน EF ไม่ได้ประเมินผลการสอบ จากกลุ่มตัวอย่าง 1 ล้านคน และอาจจะไม่ถึง 1 แสนคน 

ผลการจัดอันดับของ EF ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนในประเทศจีน มีทักษะภาษาอังกฤษระดับปานกลาง เช่นเดียวกับ อินเดีย เกาหลีใต้ และมาเก๊า คนที่เคยเดินทางไปประเทศจีน คงทราบดีว่า เมื่อออกไปพ้นเมืองใหญ่ พ้นจากเขตธุรกิจแล้ว ประชาชนจีนพูดภาษาอังกฤษได้ระดับใด ดังนั้นผลสอบ จึงไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดทักษะภาษาอังกฤษของคนกว่าพันล้านคนได้ และการจัดให้ประเทศจีนมีระดับทักษะเท่ากับฮ่องกง และมาเก๊า หรืออินเดีย ยิ่งไม่น่าเชื่อถือ

ประเทศในเอเชีย ที่มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับต่ำ ได้แก่ ญี่ปุ่น ปากีสถาน บังกลาเทศ อินโดนีเซีย เวียดนาม และศรีลังกา ส่วนประเทศที่ EP ชี้ว่า มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับต่ำมาก ได้แก่ ไทย เมียนมา กัมพูชา อัฟกานิสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน และ คีร์กีซสถาน 

‘เพลงรักชาติ’ น้ำมนต์ หรือ อาหารใจ ?

เพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” เป็นกระแสดนตรี ที่มีการรับรู้เป็นกระแสการเมือง จากเนื้อหาที่ปลุกสำนึกรักชาติ โดยนำเพลงซึ่งคนรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ รู้จักกันในฐานะ “เพลงสุนทราภรณ์” ที่เผยแพร่ครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 ผู้ที่มีส่วนตั้งแต่ครั้งที่เพลงนี้ชนะการประกวด “การแต่งเพลงปลุกใจ” ครั้งนั้น ได้แก่ มัณฑนา โมรากุล, ชวลีย์ ช่วงวิทย์, สุปาณี พุกสมบุญ และเพ็ญศรี พุ่มชูศรี แต่ยังไม่ได้มีการบันทึกเสียงไว้ ต่อมาเมื่อได้มีการบันทึกเสียง มีนักร้องซึ่งเป็นดาวเด่นของวงสุนทราภรณ์ เป็นผู้ขับร้องได้แก่ ศรีสุดา รัชชตวรรณ, มาริษา อมาตยกุล, บุษยา รังสี และวรนุช อารีย์

แม้ว่าจะเป็นเพลงปลุกใจผู้คนในอดีตส่วนใหญ่ ไม่ได้โยงเพลงเข้ากับการเมืองอย่างจริงจัง เพราะโดยสภาพทั่วไป แม้ว่าจะมีอิทธิพลของลัทธิการเมืองแทรกแซงอยู่ในสังคม แต่ภาพโดยรวมคือ คนไทยย่อมรักชาติ เกิดเมืองไทย โตเมืองไทย ไม่รักชาติแล้วจะไปอยู่ที่ไหน เพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” ในอดีตที่ผ่านมา จึงเป็นเพลงที่ให้ความรู้สึกที่ดี เป็นเพลงที่มีทำนองไพเราะ ชวนให้ร้องตาม

แต่เมื่อเพลงถูกนำกลับมาเสนอใหม่ โดยสร้างสรรค์ในสไตล์ดนตรีแตกต่างกัน รวม 4 เวอร์ชัน เพลง “บ้านเกิดเมืองนอน” ไม่ได้เป็นแค่เพลง ไว้ฟังให้ Feel Good เท่านั้น แต่ทำหน้าที่เหมือนเป็น “น้ำมนต์” หรือเป็น “กระบอง” ไว้ฟาดฝ่ายตรงข้าม

ฝ่ายตรงข้าม คือ กระแสการด้อยค่าประเทศไทย อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน มีการเปิดเพจเฟซบุ๊ก เชิญชวนให้คนทุกรุ่น ย้ายภูมิลำเนาไปแสวงหาอนาคตในประเทศอื่น และเสนอข้อมูลที่เกลี้ยกล่อม ถึงสังคมที่ขาดความเท่าเทียม ขาดความยุติธรรมในกลไกต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และสวัสดิการที่รัฐพึงจัดให้แก่ประชาชน แต่เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอนั้น ไม่ตรงกับสภาพที่ผู้คนในสังคมไทยได้สัมผัสเสมอไป วาทกรรมที่ปรากฏทั้งในลักษณะคำพูด และตัวอักษร จึงถูกมองเห็นว่าเป็นลักษณะ “ชังชาติ” และการรับมือกับพฤติกรรม “ชังชาติ” คือ การแสดงความรักชาติ รักแผ่นดินไทย

การโต้ตอบระหว่างฝ่ายด้อยค่าประเทศไทย และฝ่ายรักประเทศ มีมากมายทั้งทางโซเชียลมีเดีย และสื่ออื่น ๆ เช่น รายการทีวี อินโฟกราฟิก และคลิปยูทูบ และเครื่องมือที่เชื่อว่าจะใช้ตอบโต้ได้ดี คือ ดนตรี ดังนั้นจึงเกิดโปรเจกต์ “บ้านเกิดเมืองนอน 2564” ที่ดึงคนดนตรีมาร่วมงานกันมากมายถึง 22 คน โดยนำเสนอในสไตล์ Rock, Pop, Jazz และ Piano 

สไตล์ดนตรีหลากแนว สนองต่อรสนิยมดนตรีของคนฟัง ค่อย ๆ ทยอยปล่อยแต่ละเวอร์ชันออกมาตาม ๆ กันเกิดเป็นกระแส เกิดเป็นข่าว เกิดเป็นพลังในการโต้ตอบกับการด้อยค่าประเทศชาติ แต่คำถามคือ เป็นกลยุทธ์ตอบโต้ ที่มีความยั่งยืน หรือเป็นเพียงการแลกหมัดเฉพาะเหตุการณ์ ?

หนังเลียนแบบคน หรือ คนเลียนแบบหนัง ?

เมื่อใดที่จัดรายการกับคุณวารินทร์ สัจเดว เรื่องภาพยนตร์ คุณวารินทร์ จะตั้งคำถามแบบไม่ต้องการคำตอบเสมอว่า “ตกลงหนังเลียนแบบชีวิต หรือชีวิตเลียนแบบหนัง?”

คำถามนี้ เป็นคำถามในรูปแบบของ “ไก่กับไข่ อันไหนเกิดก่อนกัน” ? 

จุดประสงค์ของภาพยนตร์ คือการให้ความบันเทิง ความบันเทิง ไม่ได้หมายถึงความร่าเริง สนุกสนาน ตลกโปกฮา เท่านั้น! ผู้ชมได้รับความบันเทิงจากการร้องไห้จนตาบวม เมื่อได้ชมเรื่องโศกเศร้า หรือตื่นเต้นจนต้องยกขาขึ้นจากเก้าอี้ หรือส่งเสียงร้องด้วยความตกใจ การได้ปลดปล่อยทางอารมณ์คือความบันเทิง ความบันเทิงของภาพยนตร์ จึงหลากหลาย รวมไปถึงภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่เปิดโลกทัศน์ให้ชาวโลก เรื่องราวที่ชวนให้ผู้ชมคิดตาม ทั้งในแง่จิตวิทยา สังคม วัฒนธรรม ศรัทธา และความเชื่อ เรื่องราวทั้งเรื่อง หรือเพียงบางช่วง ฝากข้อคิดและกระตุ้นให้ผู้ชมวิเคราะห์ด้วยเหตุผล

การสร้างภาพยนตร์โดยเสนอความคิดรวม (Theme) หรือพล็อต (Plot) ที่ตรงกับอารมณ์สาธารณะในช่วงเวลานั้น เป็นแนวทางของการสร้างภาพยนตร์ ที่สามารถทำเงินได้ในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน เช่น ในยามที่สังคมส่วนใหญ่ รู้สึกคับข้องใจ เก็บกด แค้นเคือง อยากได้พลังวิเศษที่ใช้ปราบทรราช หรือปราบนักการเมืองที่เหมือนปีศาจร้าย ภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่ สามารถทดแทน คลายความเก็บกดได้ ภาพยนตร์แนวเทพนิยาย แอนิเมชัน แฟนตาซี และมิวสิคัล เป็นหนทางหนีจากความวุ่นวายในโลกจริง (Escapism) ภาพยนตร์กลุ่มนี้ จะออกมาในช่วงที่ผู้คนในสังคม หรือทั้งโลกเผชิญอุปสรรคที่ยืดเยื้อ ไม่จบสิ้น และปัญหาที่แก้กันไม่จบ 

ในช่วงของ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่ ออกมาถึง 33 เรื่อง ทั้งในแบบแอ็กชันแฟนตาซีจริงจัง และแบบแอ็กชันปนตลก เช่น Batman, Superman, Aquaman, Wonder Woman, Spiderman, Deadpool, Captain America, Dr. Strange, Suicide Squad, Fantastic Four, Guardians of the Galaxy, Justice League, Raknarok, Black Panther, Ant Man, Avengers, Captain Marvel และอีกมากมายรวมทั้งซูเปอร์ฮีโร่ในแบบแอนิเมชัน ซูเปอร์ฮีโร่ในภาพยนตร์ เผชิญหน้ากับอำนาจชั่วร้าย เพื่อปกป้องโลก ปกป้องประชาชนไร้เดียงสาที่ตกเป็นเหยื่อของสิ่งเลวร้าย

เมื่อหนังจบ ฝ่ายชั่วร้ายถูกทำลาย นำความพึงพอใจมาให้ผู้ชม ความรู้สึกหนักอึ้งที่สะสมอยู่ในใจ ได้ถูกปลดปล่อยออกไป แม้ว่าในโลกจริงนั้น สถานการณ์รอบตัวยังไม่เปลี่ยนแปลง

Black Panther เป็นซูเปอร์ฮีโร่ผิวดำ เป็นชนเผ่าที่ผดุงไว้ซึ่งความชอบธรรม และปกป้องโลก Wonder Woman และเผ่าพันธุ์ของเธอ ก็เช่นกัน ตัวละครเหล่านี้เกิดจากความต้องการที่ซ่อนอยู่ในจิตสำนึก อยากให้โลกมีคนเก่งเช่นในหนัง มาช่วยกอบกู้สถานการณ์ในยามที่สภาพความเป็นอยู่มืดมน

หนังเป็นช่องทางหลีกหนีจากความจริง เพราะหนังชดเชยในสิ่งที่อยากให้มี อยากให้เป็น แต่เป็นไปไม่ได้ในโลกจริง ผู้คนสานต่อจินตนาการของภาพยนตร์ได้เพียง คอสเพลย์ แต่งแฟนซีเป็นซูเปอร์ฮีโร่ไปงานปาร์ตี้ หรือสร้างความสนุกสนานในโอกาสต่าง ๆ

นอกจากซูเปอร์ฮีโร่แล้ว ภาพยนตร์ยังถ่ายทอดเรื่องราวในมุมอื่น ๆ ของชีวิตมนุษย์ เช่นเรื่องการคอร์รัปชันในองค์กรทั้งของรัฐ และเอกชน การเสียสละและต่อสู้เพื่อส่วนรวม การเหยียดชนชั้นและสีผิว ไปจนถึงเรื่องการล่วงเกินทางเพศของนักบวชในศาสนาต่าง ๆ เป็นเรื่องราวของหนังเลียนแบบชีวิต

แต่เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง สังคมเห็นว่าผู้คนเลียนแบบหนัง โดยกล่าวโทษว่าหนังเป็นต้นเหตุของการใช้ยาเสพติด อาชญากรรมประเทศต่าง ๆ ทั้งจี้ ปล้น ข่มขืน เพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน สังคมที่มี LGBTQ เพิ่มขึ้น การฆ่าตัวตาย การหย่าร้าง และพฤติกรรมไม่สร้างสรรค์สารพัดรูปแบบเกิดจาก คนเลียนแบบหนัง

ด้วยเหตุที่เชื่อกันว่า หนังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเลียนแบบหนัง จึงต้องมีการตรวจตราเนื้อหาที่หนังจะนำเสนอ

ทุกวันนี้จำนวนประเทศที่ผ่านกฎหมายให้ อาชีพโสเภณี เป็นอาชีพถูกกฎหมายนั้นมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เหตุผลเพราะทางรัฐของประเทศที่เห็นชอบมองว่า การตรวจตราธุรกิจที่ดำเนินอย่างเปิดเผย ย่อมง่ายกว่าธุรกิจหลบซ่อน

ช่วงนี้กระแสความสนใจในการหาช่องทางด้านอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในต่างแดน มีความแพร่หลายอย่างมาก ในเพจเฟซบุ๊ก ‘โยกย้าย มาโยกย้ายส่ายสะโพก’ เป็นเพจหนึ่งที่ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ขึ้นมานับร้อยอาชีพ เพื่อสนองต่อผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐานได้สำเร็จแล้วนั้น 

แน่นอนว่าในสาระสำคัญของอาชีพที่เชื่อหลายคนคงคุ้นเคยกันดี ก็จะมีตั้งแต่ พยาบาล, โปรแกรมเมอร์, แอร์โฮสเตส, หมอนวด, ครู, งานครัว, งานบนเรือสำราญ ฯลฯ 

แต่ที่น่าสนใจ คือ มีกลุ่มอาชีพที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงปรากฎขึ้นมาจากข้อมูลในเพจดังกล่าวให้สืบค้นต่อ!! ซึ่งมีอะไรบ้าง เด่วจะไล่กันแบบจากเบาไปหาหนัก 

อาชีพที่ว่าได้แก่...
1.) นักสปารองเท้าและกระเป๋า
2.) คนทำความสะอาดสุสาน 
และ ๆ ๆ
3.) อาชีพโสเภณีอย่างถูกกฎหมาย 
เกิดแรงสะดุด จนนิ้วไม่กล้าคลิกข้ามอาชีพ ‘โสเภณี’ เพราะมันเตะลูกกะตายิ่งนัก!!

และก็เชื่ออย่างแรงว่าผู้คนที่เข้าไปแวะเวียนในเพจดังกล่าว ก็คงรู้สึกไม่ต่างกัน เพราะมีการโพสต์สอบถามเกี่ยวกับอาชีพโสเภณีมากมาย มีผู้กด Like กว่า 3 หมื่น และมีการคอมเมนต์ สอบถาม และพูดคุยกันกว่า 5 พันคอมเมนต์ในช่วงเวลาเพียง 2 วัน 

ที่น่าสนใจมากๆ คือ มีข้อมูลยืนยันจากผู้ใช้กฎหมายในประเทศนั้นๆ หรือจากผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศนั้นเป็นเวลานาน มาแถลงไขจนใครที่เข้าไปอ่าน สามารถเข้าใจลักษณะการค้ากามารมณ์แบบครบถ้วน ตั้งแต่ขั้นตอนการขอใบประกอบอาชีพโสเภณีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อได้ใบอนุญาตแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อ 

ณ ที่นี้ ขอยกตัวอย่างหนึ่งจากโสเภณีต่างชาติที่เข้าไปทำงานกันเล็กน้อย ซึ่งตัวอย่างนี้มาจากสิงคโปร์ โดยเผยว่าถ้าจะทำงานที่นั่นต้อง…

- มีการเซ็นสัญญาการทำงาน ระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ปี
- ระหว่างนั้นห้ามแต่งงานกับคนสิงคโปร์
- หลังหมดสัญญาแล้วจะไม่สามารถเดินทางเข้าสิงคโปร์ได้อีก
- สัญญาจะระบุเวลาการทำงาน มีทั้งเริ่มแต่เช้า 10.00 น. หรือ เที่ยง หรือบ่าย หรือเย็น
- วันหยุดคือวันที่มีประจำเดือน โดยจะได้หยุด 3 วัน
- สถานที่ทำงานนั้นเรียกว่า ‘บ้าน’
- โสเภณีประจำบ้าน จะออกจากบ้านได้หลังจากเลิกงานแล้วเท่านั้น และต้องแจ้งเวลากลับบ้านให้ชัดเจน
- ต้องตรวจสุขภาพตามกำหนด
- ค่าอาหารต้องออกเอง/บางบ้านอุปกรณ์ทำงานก็ต้องออกเอง
- ค่าแรงในการทำงาน อยู่ที่ 20-25 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 580 บาท) ต่องานไม่เกิน 30 นาที
- ไม่เน้นคุณภาพการให้บริการ เมื่อหมดเวลาแล้วพร้อมรับแขกต่อไป

โอ้โห!! ฟังละอึ้ง

นอกจากสิงคโปร์แล้ว ยังมีผู้ให้ข้อมูลการประกอบอาชีพโสเภณีในเยอรมนี ซึ่งเป็นอีกพิกัดมีชื่อเรื่องธุรกิจกามารมณ์ที่ถูกกฎหมายมาตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในช่วงท้ายของทศวรรษ 60s นั้น มาจนถึงปัจจุบัน เยอรมนีมีซ่องขนาดใหญ่ลือเลื่องรู้กันดีทั่วโลก 

โดยมีคนไทยที่ทำอาชีพโสเภณีอย่างถูกกฎหมายในเยอรมนีได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ตัวเธอเรียนจบปริญญาตรี และปริญญาโท จากเมืองไทย และตั้งใจจะมาเรียนปริญญาเอกในยุโรป แต่ชีวิตผิดแผน กลายมาเป็นโสเภณีอย่างถูกต้อง มีใบอนุญาต ได้รับการดูแลจากรัฐ เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ อย่างช่วงโควิด-19 ก็ได้รับเงินช่วยเหลือเกือบ 1 ล้านบาท 

ยิ่งไปกว่านั้นรายได้จากการประกอบอาชีพของเธอ สามารถส่งเสียครอบครัวในเมืองไทยได้อย่างสบาย เวลาติดต่อราชการไม่เจอสายตาเหยียด หรือกริยาดูถูก 

พอเห็นแบบนี้แล้ว ก็ทำให้รู้สึกคัน (คันไม้คันมืออยากค้นหาข้อมูลนะ) จนไปไล่ดูว่า...ทุกวันนี้จำนวนประเทศที่ผ่านกฎหมายให้ อาชีพโสเภณี เป็นอาชีพถูกกฎหมายนั้นมีมากน้อยแค่ไหน

ปรากฎว่ามีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เหตุผลเพราะทางรัฐของประเทศที่เห็นชอบมองว่า การตรวจตราธุรกิจที่ดำเนินอย่างเปิดเผย ย่อมง่ายกว่าธุรกิจหลบซ่อน ในบางประเทศเห็นว่า การค้าประเวณีอย่างถูกต้องช่วยลดอาชญากรรมทางเพศ และลดความรุนแรงในครอบครัว หรือด้วยหลักการอื่น ๆ

เอาเป็นว่ามาลองไล่เรียง เป็นความรู้กัน!! ว่า ‘อาชีพโสเภณี’ ในโลกกว้างนี้ มีมิติเช่นไรกันบ้าง?

สำหรับประเทศในยุโรป ที่อาชีพโสเภณีที่ได้รับการจดทะเบียน เป็นอาชีพถูกต้องตามกฎหมายและมีการตรวจตราอย่างเป็นระบบ ได้แก่ เยอรมนี, สวิสเซอร์แลนด์, ออสเตรีย, กรีซ, ตุรกี, เบลเยี่ยม, สาธารณรัฐเช็กฯ, เนเธอร์แลนด์, ฮังการี, อิตาลี, สเปน, โปรตุเกส และ ลัตเวีย

ส่วนในแถบสแกนดิเนเวียและใกล้เคียง ได้แก่ ฟินแลนด์, เอสโตเนีย, สโลเวเนีย, โปแลนด์ และยังมีประเทศอื่น ๆ ที่อาชีพโสเภณีไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่มีการตรวจตราควบคุม 

ข้ามมาฟากแถบทวีปอเมริกา ในอาร์เจนตินา อาชีพโสเภณี ก็เป็นอาชีพถูกกฎหมาย แต่ไม่อนุญาตให้หาประโยชน์จากโสเภณี จึงไม่อนุญาตให้มีพ่อเล้า แม่เล้า และห้ามค้าประเวณีในเขต 500 เมตรที่มีโรงเรียนตั้งอยู่ 

ในออสเตรีย อาชีพโสเภณีถูกต้องตามกฎหมายแต่มีการตรวจตราดูแลอย่างรัดกุม 3 ระดับคือ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับชุมชน

โสเภณีในบังคลาเทศ ค้าประเวณีได้อย่างถูกกฎหมาย แต่สังคมยังตราหน้าว่าเป็นอาชีพที่ไร้เกียรติ ทำให้โสเภณีถูกมองว่าเป็นอาชญากร

ในประเทศโบลิเวีย ผู้ที่อายุเกิน 18 ปี สามารถค้าประเวณีได้อย่างถูกกฎหมาย จึงสามารถพบเห็นผู้ยึดอาชีพโสเภณีได้ทั่วไป แต่ไม่มีกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองหรือดูแล ทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งทั้งด้านสุขภาพ และความปลอดภัยต่อชีวิตของโสเภณี ทั้งกามโรคต่าง ๆ และการค้ามนุษย์ การบังคับให้ผู้อายุต่ำกว่าเกณฑ์ร่วมเพศกับลูกค้า

สาธารณรัฐโดมินิกัน ให้อาชีพโสเภณีเป็นอาชีพถูกต้องตามกฎหมาย และได้ทำให้โดมิกันเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของการท่องเที่ยวเพื่อเซ็กซ์

ส่วนในเอกวาดอร์ นอกจากอาชีพโสเภณีถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังไม่ห้ามการหาประโยชน์จากโสเภณี เช่น การตั้งช่อง หรือสถานที่ให้บริการทางเพศ หรือการเป็นพ่อเล้า หรือแม่เล้า หรือนายหน้า แถมเอกวาดอร์ ยังดึงดูดโสเภณีจากโคลอมเบีย ให้มาหากินในเอกวาดอร์ เพราะค่าตอบแทนเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ต่างจากเงินเปโซของโคลอมเบียที่ไม่เสถียร ซึ่งมีการสำรวจคร่าว ๆ ในเอกวาดอร์พบว่า มีโสเภณีจำนวนไม่น้อยกว่า 35,000 คนกันเลยทีเดียว

ในเอลซัลวาดอร์ กฎหมายระดับชาติ ไม่มีบทลงโทษผู้ค้าประเวณี แต่กฎหมายในระดับเทศบาลสามารถเอาผิดในคดีค้าประเวณีได้ ดังนั้นกลุ่มลูกค้า จึงได้พัฒนาเขตเฉพาะขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อโสเภณีและการดำเนินกิจกรรมค้าประเวณี 

เอธิโอเปีย อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุเกิน 18 ปี ประกอบอาชีพโสเภณีได้อย่างถูกกฎหมาย จึงพบเห็นโสเภณีได้ทั่วไป แต่กฎหมายยังจำกัดการหาผลประโยชน์จากโสเภณี และอาชีพแมงดาให้เป็นเรื่องผิดกฎหมายอยู่

การค้าประเวณีและการซื้อขายเซ็กซ์ในฟินแลนด์ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากผู้ซื้อได้ตกลงซื้อบริการทางเพศ จากผู้ขายที่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ผู้ซื้อจะมีความผิดโดยบทลงโทษนั้น มีทั้งโทษปรับและจำ

การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมายสำหรับผู้มีอายุเกิน 18 ปี ในอิสราเอล แต่มีบทลงโทษจำคุก 3 ปี ต่อผู้ซื้อเซ็กซ์จากผู้เยาว์ และอาชีพ ‘แมงดา’ จะถูกจำคุก 5 ปี 

ส่วนในญี่ปุ่น กฎหมายระบุว่า การซื้อขายเซ็กซ์นั้นผิดกฎหมาย โดยมีการระบุนิยามความหมายเพิ่มเติมความผิดภายใต้คำว่า ‘กิจกรรมทางเพศ’ ไว้ ซึ่งหมายถึงว่าการร่วมเพศกับอวัยวะเพศหญิงเท่านั้นที่ผิด ฉะนั้นกิจกรรมทางเพศ ที่ไม่ได้กระทำต่ออวัยวะเพศหญิง จึงถือว่าไม่ผิดกฎหมาย (อ่า)

ในมอลตา ประเทศเกาะกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การประกอบอาชีพโสเภณีด้วยความสมัครใจถือว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่การกระทำใด ที่เป็นการล่อหลอก หว่านล้อม หรือบังคับ ให้ผู้อื่นประกอบอาชีพโสเภณีนั้นผิดกฎหมาย และการหาประโยชน์จากโสเภณีมีบทลงโทษ

เม็กซิโก ประกอบด้วยรัฐ 32 รัฐ และมีกฎหมายกลางที่ใช้กับทุกรัฐ ระบุกว่า ห้ามจัดตั้งซ่อง แหล่งค้าประเวณี หรือเป็นพ่อเล้า แม่เล้า ผู้ประกอบอาชีพโสเภณี ต้องจดทะเบียนและพกบัตรตรวจโรคติดตัวไว้ตลอดเวลา การซื้อขายเซ็กซ์ไม่ผิดกฎหมาย แต่อนุญาตให้แต่ละท้องถิ่น ออกกฎหมายบังคับใช้เพิ่มเติมได้ ดังนั้นกฎหมายว่าด้วยโสเภณีและการค้าประเวณีของเม็กซิโก จึงไม่มีลักษณะปูพรมผืนเดียวทั้งประเทศ มีความแตกต่างในแต่ละภูมิภาคและเมือง

กฎหมายว่าด้วยการค้าประเวณีของนอร์เวย์ มีความแตกต่างและน่าสนใจ คือ กฎหมายอนุญาตให้คนสัญชาตินอร์เวย์ขายบริการทางเพศได้ แต่ห้ามไม่ให้ผู้มีสัญชาตินอร์เวย์ หรือผู้ที่พำนักในนอร์เวย์ ซื้อบริการทางเพศ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือนอกประเทศ การซื้อบริการทางเพศมีโทษทั้งปรับ และจำคุกนาน 1 ปี ในสวีเดนก็ไม่ต่างกันคือ ชาวสวีเดนสามารถค้าประเวณีได้ แต่ห้ามเป็นผู้ซื้อ

ในเซเนกัล เกณฑ์อายุที่จะยึดอาชีพโสเภณีได้คือ 21 ปี ซึ่งเป็นเกณฑ์อายุในการประกอบอาชีพที่สูงกว่าประเทศอื่น และมีการตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการตรวจโรคและการไม่ถูกหลอกลวง หรือตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มค้าประเวณี หรือพ่อเล้า แม่เล้า

ส่วนในสิงคโปร์นั้น แม้อาชีพโสเภณีไม่ผิดกฎหมาย แต่มีกฎหมายผูกพันมากมาย เช่น ห้ามหาลูกค้าในสถานที่สาธารณะ ห้ามหาประโยชน์จากโสเภณี ห้ามเป็นเจ้าของซ่อง ห้ามโฆษณาหรือประกาศขายเซ็กซ์ รวมทั้งทางอินเตอร์เน็ต 

จะเห็นได้ว่า ในประเทศที่อนุญาตให้อาชีพโสเภณีถูกต้องตามกฎหมาย มักจะเน้นว่า ห้ามหาผลประโยชน์จากโสเภณี 

แต่ในความเป็นจริง ก็เชื่อว่าการหากินบนหลังโสเภณีนั้นมีอยู่ จึงต้องมีกฎหมายคุ้มครอง ‘ในทางปฎิบัติ’ เพราะอาชีพนี้ มันยากมากที่จะปลอดจาก แมงดา พ่อเล่า หรือแม่เล้า  

อย่างไรก็ตาม โสเภณี ก็เป็นอาชีพอย่างอิสระอย่างหนึ่ง และก็ควรจะได้รับสิทธิในการคุ้มครองที่ดี การปฏิบัติตน การให้เกียรติจากสังคม เพื่อไม่ให้โสเภณีเหล่านั้น หลุดเข้าไปสู่วัฏจักรอันเลวร้าย วนเวียนสู่วงจรของอาชญากรรมจัดตั้ง

ที่นำมาเล่านี้ เป็นประสบการณ์ของอาชีพหนึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้เป็นการส่อแววอนาจารหรือสนับสนุนใด ๆ เพียงแต่เป็นการตีแผ่เรื่องจริง ที่ได้แรงหนุนจากบรรดาคอมเมนต์ ‘เพจโยกย้ายฯ’ ก็มีคอนเทนต์มากมายทั้งชุดคำพูดสนุกสนาน ขบขัน หรือข้อมูลความรู้ทั่วไปแบบเล่าสู่กันฟัง 

แต่อย่างไรเสีย บทสรุปของอาชีพนี้ ที่ทิศทางคำถามได้ในแนวเดียวกัน คือ “ทำไมถึงอยากเป็นโสเภณี?” 

คำตอบแบบชัด ๆ อาจระบุไม่ได้ แต่หากให้คลี่คลายอย่างผิวเผินและไม่เป็นทางการนั้น มีความจริงเพียงแค่หนึ่งเดียว...

“เพราะค่าตอบแทนคุ้มค่าแรงไง”

“แค่นั้นจริงๆ”


เขียนโดย: แพท แสงธรรม นักวิชาการอิสระ ด้าน Communication facilitator และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ระยะเวลามากกว่า 23 ปี
 

ผู้ที่เรียนลัดและก้าวไปสู่การเป็น 'สื่อพลเมือง' นั้น มักจะมีข้อเสียสุดยิ่งใหญ่จากความเชื่อมั่นในวิจารณญาณของตนจนไร้ขอบเขต สิ่งนั้น คือ ความรู้ด้านจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของสื่อมวลชน!!

คำว่า 'สื่อพลเมือง' อาจฟังดูไม่ชัดเจนหรือดูเข้าใจง่ายเท่ากับคำว่า 'สื่อภาคประชาชน' หรือ 'นักข่าวประชาชน'

แต่คำๆ นี้เริ่มมีบทบาทกับโลกของสื่อยุคใหม่ โดยบางครั้งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักข่าวเฉพาะกิจ ไม่ว่าจะทำเพราะเป็นกิจกรรมที่ชอบโดยส่วนตัว หรือด้วยความรู้สึกท้าทายว่าตนทำหน้าที่เสนอข่าวและข้อมูลได้ดี จนหวังการอวยยศให้เป็น 'นักข่าวอิสระ' ก็ตามนั้น มีสิ่งหนึ่งที่ผมแอบห่วง!! 

สื่อพลเมือง สามารถเสนอเนื้อหาได้อย่างมีอิสระ ไม่มีใครควบคุมหรือกลั่นกรองข้อมูล

สื่อพลเมือง สามารถนำเสนอเรื่องราวได้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งทางวิทยุ, ทีวี, พอดแคสท์, ยูทูบ, โซเชียลมีเดียทุกรูปแบบ, บล็อกและเว็บไซต์

สื่อพลเมือง อาจทำงานลำพัง หรือมีผู้ร่วมงานและทีม ช่วยกันคิดรูปแบบ คอนเทนต์ และสไตล์อันจะสร้างความแตกต่างให้ตนเด่นขึ้นมา

สื่อพลเมือง เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันที่หามาได้ในราคาไม่แพง ทำให้ความฝัน ที่อยากเป็น 'สื่อพลเมือง' กลายเป็นจริงได้ง่ายกว่าแต่ก่อน เช่น กล้องจากโทรศัพท์มือถือ มีคุณภาพสูงพอเพียงทั้งสำหรับภาพนิ่งและภาพวิดิโอ ซอฟท์แวร์ตัดต่อภาพและเสียง ที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อแบบจัดเต็ม ก็สร้างลูกเล่นจากฟังก์ชั่นที่สามารถผลิตคลิปวิดิโออันเร้าใจและอยู่ระดับมาตรฐานสากลได้ 

สื่อพลเมือง สามารถเพิ่มพูนทักษะของตนได้จากการอ่าน, คำแนะนำจากผู้อื่น, บทความออนไลน์, ดูจากคลิปออนไลน์, เรียนจากการสอนออนไลน์

ทั้งหมดที่ว่ามานี้ คือ ศักยภาพของสื่อพลเมืองยุคใหม่ ที่เรียนรู้ทุกอย่างของอาชีพสื่อได้หมดโดยไม่ต้องจบการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ หรือนิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยใดๆ

พูดแบบนี้ แล้วรู้สึกว่าต่อจากนี้ไม่ต้องมีระบบการศึกษาที่เกี่ยวกับสื่ออีกเลยก็น่าจะได้!! 

อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการเรียนรู้ในระบบอุดมศึกษา ไม่ได้ว่าด้วยการพัฒนาทักษะทางด้านเทคนิค หรือครอบคลุมเฉพาะเรื่อง 'เนื้อหา' ของการนำเสนอ ทั้งข่าว สารคดี งานบันเทิง การคิดเชิงวิเคราะห์ หลักการวิจารณ์ ที่ดูๆ แล้ว สื่อพลเมือง ก็คงเรียนลัดเองได้ไม่ยาก

แต่สิ่งที่ระบบการศึกษาได้สอน และเชื่อได้ว่า 'สื่อพลเมือง' จะไม่มีวันเรียนรู้ได้ คือ... 

จริยธรรมของการเป็นสื่อ!! 

สิ่งที่ผมอยากจะบอกกับผู้อ่านในที่นี้ คือ ผู้ที่เรียนลัดและก้าวไปสู่การเป็น 'สื่อพลเมือง' นั้น มักจะมีข้อเสียสุดยิ่งใหญ่จากความเชื่อมั่นในวิจารณญาณของตนจนไร้ขอบเขต

สิ่งนั้น คือ ความรู้ด้านจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของสื่อมวลชน!! 

ในกระบวนการด้านการศึกษาที่จัดทำเป็นรายวิชานั้น จะมีวิชาหนึ่งที่นักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนต้องเรียน รวมทั้งยังมีหนังสือ, ตำราวิชาการ และเนื้อหาเชิงวิเคราะห์จากผู้ประกอบอาชีพสื่อและนักวิชาการที่มีชื่อเสียง มาถ่ายทอดเป็นความรู้แก่ผู้ที่ประกอบอาชีพสื่อโดยไม่ได้จบการศึกษาด้านสื่อสารมวลชนโดยตรงมากมายด้วย

อันที่จริงจรรยาบรรณของสื่อ ไม่ใช่กรอบความคิดที่นิ่งอยู่กับที่ หรือไม่แปรเปลี่ยน หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยไม่ต่างจากจรรยาบรรณในสาขาอื่นๆ

โดยบรรทัดฐานที่เคยใช้เป็นแนวทางในการเสนอข้อมูลต่อสาธารณชน จะมีการเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมและค่านิยมของผู้เสพสื่อ ยิ่งเมื่อทุกสิ่งถาโถมเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่เน้นการเสนอข้อมูลแบบแข่งขันกันด้วยความรวดเร็ว ความรอบคอบและความใส่ใจ ต่อความถูกต้องก็ลดน้อยลง เรื่องจริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่ควรเข้ามามีบทบาทอย่างเข้มข้นขึ้น

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ...ทุกวันนี้หลายคนคงเห็นข่าวปลอม ข่าวผิด ข่าวมั่ว ข่าวโจมตี ข่าวปลุกปั่น ที่ไหลซัดมาพร้อมกับความเร็ว แต่บังเอิญเป็นความเร็วที่มากับการมุ่งที่จะแข่งขันเพียงแค่หวังสร้างความนิยม และฉวยโอกาสจากยอดการติดตามเท่านั้น

หมายความว่าอะไร? 

สื่อพลเมือง กำลังเข้ามามีบทบาทในการ 'ลด' เพดานของจรรยาบรรณสื่อ เพื่อที่จะแต่งเติมให้พาดหัวข่าว กระตุ้นความสนใจได้ สื่อใช้ภาพประกอบที่ไม่ตรงกับเรื่อง หรือนำภาพของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับการอนุญาติ และทำให้สื่อหลักที่น่าเชื่อถือ ยังหลงประพฤติตนตาม เพื่อยอดรับชม

ประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญที่ลุกลามในกลุ่ม 'สื่อพลเมือง' ส่วนหนึ่งผมมองแง่บวกว่าเพราะทำงานกันอิสระ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดการช่วยกันกลั่นกรองตรวจตรา ขาดประสบการณ์ที่ตกผลึก หรือผู้รู้ที่จะช่วยกรองข้อมูลที่ผิดพลาด ล่อแหลมและล่วงละเมิดออกไปจากเนื้อหาและพาดหัวเรื่อง

>> Citizen media is here to stay – สื่อพลเมืองจะอยู่ตลอดไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีประเด็นที่น่าเป็นห่วง ในบทบาทของสื่อพลเมือง แต่เชื่อว่า 'สื่อพลเมือง' จะอยู่กับเราตลอดไป และจะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโซเชียลมีเดียเข้ามาทดแทนสื่อหลักในอดีต  

ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากเห็น ในวันที่สื่อพลเมือง พร้อมจะแปลงร่างเป็นสื่อหลักได้ทุกเมื่อ คือ การยกระดับศักยภาพของสื่อพลเมือง เมื่อคิดจะเป็นสื่อ ต้องเป็นสื่ออย่าง 'มืออาชีพ' เหมือนกับสื่อที่มีสังกัดชัดเจน ที่เขียนข่าวหรือบทความให้กับหนังสือพิมพ์ ทีวี หรือค่ายวิทยุข่าว (ทั้งข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวบันเทิง และข่าวกีฬา)

ผมไม่อยากเห็นสื่อพลเมือง อาศัยความเป็นอิสระและรู้สึกว่าไม่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่นำเสนอ

ยิ่งสื่อพลเมือง ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก มีอิทธิพลต่อการรับรู้และพฤติกรรมของผู้ติดตามมากไม่น้อยกว่าสื่อสำนักใหญ่ ยิ่งควรทำงานด้วยความระมัดระวัง 

>> เพราะนี่คือการก้าวเข้าเท้ามาในสายสื่อแล้วแบบค่อนตัว
>> จริยธรรมและจรรยาบรรณในการสร้างสรรค์สื่อจึงควรพึงมี 
>> และจงพึงรับรู้ว่าทุกการสื่อสารของคุณ ควรต้องอยู่บนเกียรติและศักดิ์ศรีของตนและผู้อื่น
>> เนื่องจากสื่อของคุณอาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตใครบางคน จงท่องให้ขึ้นใจว่า "อะไรคือความรับผิดชอบต่อสังคม" 

อย่างไรซะ ก็ไม่ใช่ว่าจะมาพูดจาเพียงเพื่อกล่าวโทษ อิสรภาพของสื่อพลเมืองที่นำมาสู่จริยธรรมอันมืดบอด แต่อยากบอกทางรอดให้ในตัว โดยผมอยากให้ภาคส่วนที่มีบทบาทต่อห่วงโซ่ของสื่อต้องตื่นตัว!!  

ควรมีการจัดอบรมเพื่อเติมเต็มให้กับความรู้และแนวคิดด้านสื่อสารมวลชนแก่ สื่อพลเมือง อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะจะเป็นสถาบันหรือหน่วยงานที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอาชีพได้ ก็จัดมาให้เต็มที่ เช่น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ บริษัทโฆษณา สำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ

หน่วยงานเหล่านี้ ต้องออกมาเล่นเกมรุก ต้องมุ่งอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับสื่อพลเมือง โดยมีเงื่อนไขที่ว่าอย่าพยายามยัดเยียดบุคลากรของตน หรือผู้อาวุโสทางตำแหน่งเข้าไปในการอบรม แบบนั้นมันเอาท์!! ในทางตรงกันข้าม ต้องคัดเฟ้นบุคลากรด้านวิชาการที่มีเครดิตเป็น 'นักคิด' และผู้มีประสบการณ์ในการทำงานสื่อตัวจริงในโลกยุคใหม่ ซึ่งตรงนี้ไม่ติดว่าจะเป็นคนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นเก่า แต่ขอเป็นบุคคลที่เชื่อมโซ่ข้อกลางของวงการสื่อยุคนี้ให้ได้

จับคนเหล่านี้มาเจอกัน เรียนรู้กันและกัน แลกเปลี่ยนไปด้วยกัน ตรงนี้จะทำให้เกิดเครือข่ายด้านอาชีพที่มีลักษณะจับต้องได้ ยิ่งไปกว่านั้นจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำสื่อจากเพื่อนร่วมอาชีพที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้สื่อพลเมืองต้องพัฒนาตนเองเพื่อจะได้อยู่ในระนาบเดียวกับเพื่อนร่วมอาชีพในแง่ของมาตรฐานและจริยธรรม

นอกจากนี้ อยากให้ตระหนักถึง 'การคัดเลือก' โดยการเฝ้าติดตาม หรือสร้างการประกวดเพื่อมอบรางวัลแก่สื่อบ่อยๆ ฟังดูอาจเป็นวิธีที่ล้าสมัย แต่การชนะรางวัลเอย การมีวุฒิบัตรเอย โล่ห์เกียรติคุณเอย ย่อมผลักดันให้อาชีพนั้นๆ อยากรักษาและปรับปรุงคุณภาพของงานให้ดีขึ้นต่อไป ซึ่งอาชีพสื่อก็ไม่ต่างกัน

และนั่นอาจจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้บรรดา สื่อพลเมือง อยากก้าวเข้าสู่กระบวนการผลิตข่าวอย่างถูกต้อง ปัญหาการสร้างข่าว หรือเขียนข้อมูลขึ้นมาเองจะค่อยๆ หมดไป 

สิ่งที่จะตามมา คือ พวกเขาจะต้องแน่ใจว่าข่าว และข้อมูลที่นำเสนอทั้งหมดเป็นความจริง มีหลักฐานยืนยันได้ ก่อนนำออกเสนอหรือตีพิมพ์ จะต้องแน่ใจว่าไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น ทั้งโดยตัวอักษรหรือภาพ และต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย 

เชื่อไหมว่า ทุกวันนี้ สื่อพลเมือง หลายกลุ่มกำลังย่ำแย่ เนื่องจากไม่มีความเข้าใจในด้านกฎหมาย เพราะด้วยความที่ไม่มีสังกัด หรือองค์กร คิดว่าอิสรภาพของตนไร้ขอบเขต พอเจอฟ้องเอาผิด ก็หาคนช่วยเหลือหรือปกป้องคอนเทนต์ไม่ได้ สุดท้ายต้องมาเสียทั้งเงินและเวลาเอาง่ายๆ

แน่นอนว่า วันนี้จุดแข็งของ สื่อพลเมือง และผู้ผลิตสื่อในรูปแบบต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต คือ การสร้างสูตรในการนำเสนอ จนผมเชื่อมั่นเหมือนกันว่า บรรดาสื่อพลเมืองเหล่านี้ ก็ได้สร้างบรรทัดฐานของความสำเร็จ จนเหมือนเป็นนักวิชาการอิสระ ที่ช่วยชี้นำทิศทางของอุตสาหกรรมสื่อได้มาก

เพียงแต่พวกเขา ควรต้องมีพื้นที่ยืนอย่างเป็นทางการ เพื่อให้เกิดเกียรติภูมิในอาชีพ มีตัวตนที่จับต้องได้ และมีความภูมิใจ ที่จะเสนอเนื้อหาที่มีพร้อมรับผิดชอบต่อสังคมต่อไป


เขียนโดย: แพท แสงธรรม นักวิชาการอิสระ ด้าน Communication facilitator และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ระยะเวลามากกว่า 23 ปี

“Cancel Culture” วัฒนธรรมการ “แบน” ปรากฏการณ์ ‘คว่ำบาตรคนดัง’ ในวันที่ไม่ถูกใจ!!

หลังจากที่ชาวโลก คุ้นเคยกับ call-out culture หรือวัฒนธรรมการคอลเล้าท์กันไปแล้ว อีกวัฒนธรรมหนึ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการคอลเล้าท์ คือ วัฒนธรรมแคนเซิล 

อย่าลืมว่า การ call out นั้น ไม่ใช่ว่าใครจะออกมาโวยวายเรื่องอะไร ที่ไม่ถูกใจตน แต่ ความหมายที่แท้จริงของการคอลเอาต์ คือการที่บุคคล หรือกลุ่มคนในสังคม ออกมาทักท้วงบุคคลหรือองค์กร ที่ทำสิ่งที่ผิดต่อกฎระเบียบ ค่านิยม หรือแนวปฏิบัติที่ผิดจากบรรทัดฐานของสังคมส่วนรวม เช่น การขับมอเตอร์ไซค์บนฟุตบาท, แพทย์และพยาบาลใช้อภิสิทธิ์ฉีดวัคซีนให้เพื่อนของตน, ตำรวจขับรถสวนทาง, ครูลวนลามนักเรียน, การเหยียดเพศ, การดูถูกคนจน, การจอดรถในที่สำรองให้คนพิการ และอื่น ๆ ที่ทำให้สังคมเกิดระเบียบ และมีน้ำใจต่อกัน

ดังนั้น การออกมาแสดงความคิดเห็น โดยไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง หรือไม่ยึดถือบรรทัดฐานของสังคมส่วนรวม ไม่ควรเรียกว่า คอลเอาต์ เป็นแค่การโวยวายจะให้ได้ดังใจ หรือเป็นการเรียกเสียงสนับสนุนจากผู้อื่นที่จะสนองจุดประสงค์ของตนเอง

อย่างไรก็ตาม สังคมไทย ถือว่าใครออกมาวิจารณ์หรือโจมตีใคร ด้วยถ้อยคำรุนแรง ที่แม้ฝ่ายที่ถูกโจมตีจะเป็นฝ่ายที่ยึดถือกฎระเบียบก็ตาม ก็เรียกว่า คอลเอาต์กันไปหมด

Cancel Culture เป็นสิ่งที่มาควบคู่กับ call-out culture ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มนักแสดง ออกมาต่อต้านซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ยังไม่งดแจกถุงพลาสติกสำหรับใส่สินค้า จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวกระจายเป็นวงกว้าง หากทางซูเปอร์มาร์เก็ตรีบสนองต่อการเคลื่อนไหวทันที โดยการงดแจกถุงพลาสติก กิจกรรมคอลเอาต์ก็ย่อมจะหยุดไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป แต่หากซูเปอร์มาร์เก็ตไม่สนใจต่อเสียงเตือนเสียงติงของการคอลเอาต์ ขั้นถัดไปคือการ แคนเซิล

คนไทยนำคำว่า cancel มาใช้กันในภาษาไทย จนถือว่าเป็น “คำยืม” มีความหมายว่า “ยกเลิก” โดยปกติเราหมายถึง ยกเลิกสินค้า ยกเลิกคำสั่งซื้อ ยกเลิกการประชุม ยกเลิกนัด ในความหมายของ cancel culture นั้น หมายถึง “ตัดขาดความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทั้งการพูดคุย การสนับสนุน และการติดตามผลงาน”

ดังนั้นคำว่า cancel ที่ใช้ใน cancel culture นั้นจึงหมายถึงการ boycott, ban และ sanction 

การที่ร้านค้า หรือผลิตภัณฑ์แบรนด์ใด ออกมาแสดงพฤติกรรมที่สวนทางกับบรรทัดฐานของสังคม เช่น เรื่องการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟต่อต้านการใช้หลอดกระดาษแทนหลอดพลาสติก นอกเหนือจากกระแสโต้แย้งจากสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ โดยการตำหนิผ่านสื่อโซเชียลแล้ว อาจนำไปสู่ cancel culture คือการเลิกซื้อกาแฟจากร้านนั้นอย่างพร้อมเพรียง หรือตัวอย่างเช่นขนมปังแบรนด์ดัง ที่เน้นผลิตภัณฑ์ขนมปังจากธัญพืช เมื่อมีกระแสว่าไม่ยินดีขายให้กับลูกค้าที่จุดยืนทางการเมืองแตกต่างจากแบรนด์ ก็เกิดการพร้อมใจกันงดซื้อขนมปังแบรนด์นั้น ลูกค้าบางรายเมื่อกาลเวลาผ่านไป ก็อาจกลับมาซื้อสินค้าและสนับสนุนบริการเช่นเดิม แต่มีลูกค้าอีกไม่น้อยที่หันไปเลือกแบรนด์อื่นแล้ว และชีวิตดำเนินไปเป็นปกติสุข จนไม่หวนกลับมาหาแบรนด์ที่แคนเซิลไปแล้ว ยิ่งมีแบรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อสูญเสียความภักดีต่อแบรนด์ (loyalty) ไปแล้ว ก็ยากที่จะดึงลูกค้ากลับมา

ขอบคุณภาพจาก truthforyou

ตัวอย่างของ cancel culture ที่ส่งผลเสียหายชัดเจนในช่วงไม่นานนี้ คือการ call out ของกลุ่มนักแสดงไทย ที่ได้ออกมาด้อยค่าวัคซีนจีน ในลักษณะ “รวมพลัง” โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะดิสเครดิต การทำงานของรัฐบาลในเรื่องที่ไม่จัดหาวัคซีนอเมริกันมาให้เป็นตัวเลือกได้ และได้ทำการเหยียดประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์ม โดยตั้งฉายาว่า “วัคซีนเสิ่นเจิ้น” ซึ่งไม่เมคเซนส์มากนัก เพราะเสิ่นเจิ้น เป็นเมืองที่ทันสมัยกว่าทุกจังหวัดในเมืองไทย ในขณะที่กรุงเทพฯ มีตึกสูงที่อยู่ในระดับ supertall (สูงกว่า 300 เมตร) เพียง 4 ตึก เสิ่นเจิ้น มีตึกซุปเปอร์ทอลล์ 18 ตึก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อีกทั้งยังมีตึกที่สูงที่สุดในอันดับ Top 5 ของโลกอีกด้วย การด้อยวัคซีนจากประเทศจีน จึงเป็นพฤติกรรมที่ขาดการไตร่ตรอง และไม่ได้คาดคิดว่าการกระทำดังกล่าวจะนำความเสียหายในลักษณะทุบหม้อข้าวตัวเอง

การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของนักแสดงไทย อยู่ในสายตาและการรับรู้ของแฟนคลับชาวจีน ที่ชื่นชอบดาราไทยตลอดเวลา มีการตั้งกลุ่ม FC ของดาราไทย ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ‘เวยป๋อ (Weibo)’ ของจีน ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวนมาก แฟนคลับชาวจีนเหล่านี้ ติดตามชมละคร ซีรีส์ และภาพยนตร์ ที่มีนักแสดงไทยทั้งชายหญิงร่วมแสดง นักแสดงไทยหลายคน ได้มีงานแสดงในซีรีส์ของจีน เช่น ไมค์ พิรัชต์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในประเทศจีน ได้แสดงในซีรีส์ดังหลายเรื่อง ได้ขึ้นแท่นเป็นพระเอกเต็มตัว ออกอากาศที่ช่องใหญ่ของประเทศจีน ซีรีส์ที่เขาเล่นยังมีเรตติ้งสูงอันดับ 1 และครองอันดับ 1 ในการจัดอันดับดาราเอเชียที่ได้รับความนิยมสูงในจีน และยังมีนักแสดงไทยอีกหลายสิบคน ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างมากมายในประเทศจีน เช่น ปอย ตรีชฎา, หญิง รฐา, พิช วิชญ์วิสิฐ, นน ชานน, ออม สุชาร์, ต่อ ธนภพ, บี้ KPN, เนเน พรนับพัน และ ไมค์ พิรัชต์

ส่วนนักแสดงไทย ที่แม้จะไม่ได้มีผลงานในซีรีส์จีนยอดนิยม ก็ยังมี FC ชาวจีนนับร้อยล้านเฝ้าติดตามจากซีรีส์ไทย โดย WeTV ซึ่งขยายตลาดมาจาก Tencent VDO วิดีโอสตรีมมิงแพลตฟอร์มอันดับ 1 ของประเทศจีน ซีรีส์ไทยสร้างสถิติยอดวิวผ่านแอปพลิเคชั่นได้มากถึง 50 ล้านวิว ทั้งแบบพากย์จีน และมีซับจีน ซึ่งละครไทยที่ออกอากาศจบแล้ว เมื่อขายให้กับจีน มีมูลค่าหลักแสนบาทต่อตอน และหากเป็นการออกอากาศพร้อมกัน (simulcast) บางเรื่องมีมูลค่าถึงหลักล้านต่อตอน

จีนมีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน เพียง 5 เปอร์เซนต์ของพลเมืองที่ชมซีรีส์ไทย ก็มีจำนวนถึง 65 ล้านคนแล้ว เมื่อปี 2556 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการมูลค่าตลาดค่าลิขสิทธิ์ซีรีส์ไทย ที่ค้าขายกับจีนอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งอาจจะไม่มากนักเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดของตลาดลิขสิทธิ์ซีรีส์โดยรวมของจีน แต่นี่คือธุรกิจที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถต่อยอดรายได้จากนักแสดง การนำเสนอวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของไทย เวลาที่ผ่านมา 8 ปี ซีรีส์ไทยจากช่องต่าง ๆ ได้ทำเงินจากตลาดซีรีส์ของจีนนับไม่ถ้วน

ด้วยเหตุนี้นักแสดงไทย จึงสามารถต่อยอดรายได้ผ่านการไปพบ FC ในเมืองจีน ในลักษณะ meet and greet ดาราไทยที่ได้ค่าตัวในการแสดงละครแต่ละตอน อยู่ในช่วง 80,000 - 150,000 บาท (ยกเว้นบางคนได้มากกว่าสองแสนบาทต่อตอน) เมื่อต้องเดินทางไปพบ FC ในประเทศจีน ค่าตัวย่อมมากกว่าแสดงละคร 2-3 ตอนแน่นอน

ขอบคุณภาพจาก truthforyou

การคอลเอาต์ ของนักแสดงไทย ที่ใช้วาจาเหยียดวัคซีนจีน ทำให้ FC ชาวจีนสะเทือนใจเป็นอย่างมาก จึงมีการติดตาม และเก็บบันทึกอย่างเป็นระบบ โดยการแบ่งเป็นกลุ่มพฤติกรรม เช่น นักแสดงที่ร่วมสนับสนุนการแยกฮ่องกงออกจากจีน นักแสดงที่สนับสนุนให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระ ผ่านการกด Like หรือคำพูดในโซเชียลมีเดีย กลุ่มนักแสดงที่ใช้คำพูดด้อยค่าวัคซีนจีน และบันทึกชื่อของนักแสดงเหล่านี้ไว้ จากนั้นเปิดให้ FC จีน ได้เข้ามาคอมเมนต์ ซึ่งเป็นการตอบโต้อย่างไม่ไว้หน้า เช่น

>> “โดยเนื้อแท้แล้วคนไทยคลั่งไคล้ญี่ปุ่น เกาหลี เทิดทูนยุโรป และอเมริกา ดังนั้นจึงอยากเป็นสุนัขของยุโรปอเมริกา แต่พวกนั้นไม่เห็นคุณค่า จึงเป็นได้เพียงนางบำเรอของพวกนั้น การแพร่ระบาดครั้งนี้ สารพัดถ้อยคำเหน็บแนมว่า Sinovac เป็นยาหลอกลวง ขอโทษนะ เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว นั่นคือคุณดูถูกประเทศของฉัน”
>> “ฉันอยากบอกว่า ฝรั่งมาหาเมียที่เมืองไทย มีลูกเป็นลูกครึ่ง ผลักดันเข้าวงการบันเทิง เป็นการลุงทุนที่คุ้ม”
>> “ติดตามดาราไทยคนนี้มาหลายปี ในที่สุด ฉันก็ไม่อาจรับข้อความแบบนี้ได้ ดาราทำงานของตัวเองให้ดีก็พอแล้ว ไปยุ่งอะไรกับงานของรัฐบาล Sinovac จงอย่าร่วมมือกับประเทศไทยอีกต่อไป”
>> “นึกว่าเป็นดาราเรียนจบปริญญาโทแล้วจะมีสมอง พอแล้ว เลิกติดตาม”
>> “ชอบนางมาหลายปี ผิดหวังมาก แอดมินแฟนคลับจีนทำเพื่อนางมาหลายปีแล้ว ฉันทนไม่ไหวแล้วที่นางเป็นแบบนี้”
>> “เมื่อก่อนชอบแต้ว แต่พอนางออกมา call out ครั้งนี้ผิดหวังมาก สิ่งที่บุคคลสาธารณะควรทำคือ รณรงค์ป้องกันโรคระบาด ไม่ใช่ลงไปคลุกกับการเมือง”
>> “เมืองไทยมั่วแล้ว call out แก้ปัญหาอะไรได้หรือ แต่ไหนแต่ไรมา เบลล่าไม่เคยพูดเรื่องการเมือง”

คอมเมนต์ในโทนผิดหวัง และขอ cancel จากนี้ไป มีนับร้อยนับพัน แต่ในขณะเดียวกัน การเก็บข้อมูลของ FC ชาวจีน เป็นไปอย่างละเอียดและไม่เหมาว่าปลาเน่าทั้งเข่ง ดังจะเห็นได้จากคอมเมนต์ชื่นชม เช่น 
>> “อั้ม เป็นดาราไทยส่วนน้อยที่สนับสนุน Sinovac และตัวเธอเองก็ยังฉีด Sinovac ด้วย”
>> “ออกมา call out แล้วยังไง ชาวบ้านเดือดร้อน ท้องไม่อิ่ม ต้องการให้มีชีวิตรอดเท่านั้น ดูอย่างอั้ม อย่างชมพู่ บ้างสิ ไม่กลัวว่าติ่งของพวกเธอจะพาทัวร์มาลง คนไทยควรดูอั้มกับชมพู่เป็นตัวอย่าง”

นักแสดงไทย นักร้องไทย ที่ได้ออกมา call out ตลอดมา เมื่อมีผู้เห็นต่างเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์การ call out ของพวกเขา ส่วนใหญ่จะต่อปากต่อคำ มี FC ที่เหนียวแน่น ช่วยออกมาต่อกร ปะทะคารม และได้เนื้อข่าวต่อไปอีก พูดง่าย ๆ คือ ดาราไทยมีความยะโสโอหัง อย่ามาสอน อย่ามาวิจารณ์ฉัน แม้ว่าชื่อเสียงและความร่ำรวยของฉันมาจากผู้ชมก็ตาม!!

แต่ Cancel Culture ของ FC ชาวจีนในครั้งนี้ เล่นเอาดาราไทย แย่งกันรับบทในละคร เตมีย์ใบ้กันอย่างพร้อมเพรียง หุบปากสนิท หยุด call out อย่างฉับพลัน ไม่ทราบว่า เกิดสำนึกขึ้นได้ว่า การ cancel นั้นไม่ใช่แค่หยุดชมซีรีส์ฟรี ๆ ทางยูทูปเท่านั้น หรือว่าถูกสังกัดเรียกไปตบปากแบบลูกหมา หรือตีมือเบา ๆ แบบเด็กชั้นอนุบาล

ถ้า call out ทำให้สิ่งที่เป็นบรรทัดฐาน และกฎเกณฑ์ที่สังคมส่วนรวมยอมรับ ก็จะได้แรงสนับสนุน แต่การโจมตีวัคซีนของจีนนั้น ฝรั่งมีสำนวนว่า Barking at the wrong tree หรือ สุนัขเห่าต้นไม้ผิดต้น คือการไม่มองที่สาเหตุสำคัญ ว่าในการจัดการสถานการณ์โควิด-19 คือการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการใส่หน้ากาก การล้างมือ การเว้นระยะห่าง การไม่มั่วสุม และการฉีดวัคซีนที่จัดหามาได้เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและบรรเทาอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต

Cancel Culture ครั้งนี้ ตีราคาแทบไม่ได้ เมื่อกาลเวลาผ่านไป เมื่อโควิด-19 บรรเทาไปจากโลก สังขารของนักแสดงเหล่านี้ ก็เปลี่ยนไป หน้าใหม่ก็ขึ้นมาแทน การจะลบล้างความพลั้งเผลอสิ้นคิด ด้วยการแจกอาหารให้กับบุคลากรทางแพทย์ หรือผู้ประสบความลำบากในเมืองไทย ถ้าเป็นข่าวในประเทศจีน FC ก็ดูออกว่าเป็นการกระทำล้างผิด อีก 3-5 ปี ถ้าแฟนคลับจีนให้อภัย ตอนนั้นก็อาจจะเล่นบท พ่อแม่ ลุงป้า กันแล้ว....

แต่ถ้าสนใจการเมืองจริง ไม่ได้ไปจีน ก็เริ่มทำงานให้กับพรรคการเมืองไทยได้


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของคนยุคใหม่อาจจะต้องอาศัยการบอกต่อหรือการแสดงความคิดเห็นต่อการบริโภคหรืออุปโภคสินค้านั้น ๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจซื้อได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลต่อสินค้าที่จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

การบอกต่อ (word-of-mouth) เป็นการตลาดภาคพลเมือง (citizen marketing) คือการที่ผู้บริโภครีวิวสินค้าและบริการด้วยความสมัครใจ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนเอง โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าด้วยความคิดเห็น บทวิเคราะห์ รูปภาพ วิดิโอ หรือจัดทำเป็นโพสต์ในโซเชียลมีเดีย หรือในเว็บไซต์ แต่ความหมายของ “การตลาดภาคพลเมือง” ไม่ได้หมายถึง การชักชวนให้ซื้อสินค้าและบริการเท่านั้น เพราะการรีวิวสินค้าโดยกลุ่มผู้บริโภค อาจจะนำไปสู่การปฎิเสธ หรือการต่อต้านสินค้าและบริการได้เช่นกัน 

การตลาดภาคพลเมือง มีพลัง และมีอิทธิพลอย่างมาก เพราะมาจากคนทั่วไปที่ใช้สินค้าและบริการ ความคิดเห็นต่าง ๆ จึงมีความเป็นอิสระ ไม่ได้มาจากชุดคำพูดที่เอเจนซีโฆษณาสร้างสรรค์ให้ หรือไม่ได้มาจากนักเขียนรีวิว ที่ได้รับค่าตอบแทนจากเจ้าของสินค้าและบริการ

เมื่อมีการรีวิวจากผู้ซื้อหลาย ๆ ราย ที่ให้รายละเอียดต่าง ๆ โดยมีเจตนาที่จะแจ้งให้ผู้คนทั่วไปที่กำลังสนใจในสินค้าหรือบริการได้ทราบถึง ข้อดี ข้อเสีย ความพึงพอใจ ความผิดหวังในคุณภาพและการใช้งาน

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้น สินค้าอุปโภคบริโภคที่อยู่ในตลาดมายาวนาน ผู้ใช้จำนวนมากอาจมีความภักดีในสินค้า (brand loyalty) ในระดับระดับหนึ่ง จากประสบการณ์ส่วนตัวที่พอใจในคุณภาพ จึงไม่มีการรีวิวตัวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดมานานหลายปีมากนัก แต่หากเป็นสินค้าชนิดใหม่ ที่เพิ่งปรากฎในตลาด จะมีการรีวิวมากมาย จากผู้ที่ได้ลองซื้อมาใช้ รีวิวเหล่านี้ มีผลต่อความสำเร็จของสินค้า

ผู้ที่รีวิวสินค้าและบริการเหล่านี้ ใช้สิทธิของผู้บริโภคในการวิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ โดยอาจแชร์ความไม่พอใจ ความแตกต่างจากความคาดหวังและกฎเกณฑ์ส่วนตัว ลักษณะสินค้าที่ไม่ตรงปก บางครั้งมีการแนะให้ปรับปรุงสินค้าราวกับเป็นผู้มีส่วนในการออกแบบและวางแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์ จนถือว่าเป็นผู้บริโภคที่เรียกว่า proactive consumer หรือผู้บริโภคเชิงรุก หรือ prosumer (producer+consumer)

การรีวิวสินค้านั้น เป็นการบอกต่อ (word-of-mouth) ชนิดหนึ่ง ในอดีต การบอกต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคน จนเกิดการรับรู้ในกลุ่มใหญ่ขึ้นนั้นใช้เวลานาน จากหนึ่งคนกว่าจะรู้กันทั้งหมู่บ้าน จนรู้กันทั่วจังหวัดและประเทศอาจต้องใช้เวลาเป็นปี แต่ในยุคดิจิทัล การสื่อสารด้วยโซเชียลมีเดียและอินเตอร์เน็ต ทำให้การบอกต่อ ในลักษณะของการรีวิว ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีที่จะรับรู้กันได้ทั้งโลก !!

การทำการตลาดภาคพลเมือง โดยผู้บริโภคเชิงรุกนั้น สร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบได้รุนแรง มีพลังไม่แพ้การโฆษณาที่ใช้งบประมาณมหาศาล

เหตุการณ์ที่แสดงถึงผลกระทบด้านลบต่อสินค้าและบริการ ที่เริ่มต้นโดย citizen marketing มีให้เห็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเวลาที่สังคมแตกแยก แบ่งฟาก และนำการเมืองเข้ามาปนกับนโยบายการดำเนินธุรกิจ เห็นได้จากเหตุการณ์ที่ผลิตภัณฑ์ขนมปัง ฟาร์มนมสด ร้านสุกี้ ร้านชาไต้หวัน และสินค้าอื่น ๆ ที่ประกาศตัวว่า ไม่ยินดีให้บริการ “สลิ่ม” ไม่ว่านโยบายที่เชื่อมธุรกิจเข้ากับจุดยืนทางการเมืองดังกล่าว จะมาจากเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง หรือคนอื่นถือวิสาสะจัดชุดข้อมูลให้เอง การบอกต่อของสังคมและกลุ่มผู้บริโภค ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจอย่างชัดเจน สินค้าเหลือค้างบนชั้นวางในร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายนมและไอศครีม ซึ่งเคยเป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยม กลายเป็นลูกค้าลดฮวบ 
Citizen marketing ทำโดยผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ และไม่แคร์ว่า ยอดขายจะลด หรือลูกค้าจะหดหาย เพราะไม่ใช่ปัญหาของนักการตลาดภาคพลเมือง ซึ่งโฟกัสไปที่การกระจายข้อมูลให้กว้างที่สุด แรงที่สุด และเร็วที่สุด 

ในขณะที่นักการตลาดมืออาชีพ จะต้องเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายในมิติต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ รสนิยม ไลฟสไตล์ เพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอย่างรอบคอบ นักการตลาดพลเมืองมองสินค้าและบริการแบบแบน ๆ เท่านั้นคือ “เชียร์” หรือ “ต่อต้าน”

การทำการตลาดโดยแสดงการกีดกัน หรือเลือกผู้บริโภค (discriminatory marketing) มีอยู่รอบตัวแต่เราไม่ได้สร้างประเด็น เช่น การตั้งราคาสินค้าให้สูงย่อมเป็นการแบ่งชนชั้น การที่ร้านอาหารตั้งราคาอาหารสูงลิ่ว แม้ว่าคุณภาพและปริมาณอาหารจะไม่ได้ต่างจากร้านทั่วไปมากนัก ถือว่าเป็นการคัดเลือกลูกค้า ร้านกาแฟก็เช่นกัน การทำการตลาดแบบกีดกัน เป็นการเลือกอย่างเต็มใจของผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการ การตั้งราคาสินค้าแพงย่อมมียอดขายน้อยกว่าสินค้าราคาถูกกว่า ร้านอาหารราคาแพง ได้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อมากกว่า แต่ต้องรับแรงกดดันและการคาดหวังของผู้จ่ายเงินเช่นกัน

ในยุคที่บรรยากาศของสังคมเต็มไปด้วยความคับข้องใจทางการเมือง จุดยืนทางการเมืองถูกนำมาใช้ในลักษณะ การตลาดแบบกีดกันมากขึ้น เช่น

>> โรงแรมที่เชียงใหม่ ประกาศตัวว่าไม่ต้อนรับสลิ่ม 
>> ร้านอาหารย่านซอยอารีย์ในกรุงเทพฯ ประกาศตัวว่าพนักงานที่ร้านไม่พูด “นะจ๊ะ” เพื่อเหน็บนายกรัฐมนตรี ถ้าลูกค้าได้ยินขอให้แจ้งทางร้าน จะไล่พนักงานออก 
>> แท็กซี่ติดสติกเกอร์ด้านข้างรถว่า “ไม่รับตำรวจและทหาร” 
>> ร้านขายเนื้อสัตว์และผักสดในตลาด แขวนป้ายประกาศไว้ว่า “ไม่ขายให้ทหารและตำรวจในเครื่องแบบ”

การประกาศแบบกีดกันกลุ่มลูกค้า เป็นสิทธิที่เจ้าของธุรกิจทำได้โดยไม่มีข้อห้าม และเมื่อมี citizen marketing เข้าร่วมช่วยทำการตลาด โดยการบอกต่อ ความต้องการที่จะกีดกันลูกค้ากลุ่มที่ไม่ชอบก็ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่ในขณะที่การกีดกันด้วยราคานั้น สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขไปตามสถานการณ์โดยรอบ เช่น สภาพเศรษฐกิจ โดยการลดราคาให้ถูกกว่าเดิม หรือออกสินค้ารุ่นใหม่ในราคาใหม่

แต่การกีดกันกลุ่มผู้บริโภคด้วยทัศนคติทางการเมือง นอกจากกลุ่มที่ระบุแล้ว ยังมีผลทำให้กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใด เลี่ยงที่จะใช้บริการนั้นด้วย เพราะความรู้สึกว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่รู้จักแยกแยะ และกังวลว่า การไปใช้บริการทั้งในร้านอาหาร พักในโรงแรม หรือขึ้นแท็กซี่ อาจไม่รื่นรมย์ ต้องระวังตัวทั้งคำพูด การแต่งกาย และพฤติกรรมต่าง ๆ จึงขอตัดปัญหาโดยการเลือกผู้ให้บริการรายอื่น และการตีตราให้ธุรกิจนั้นจะเป็นที่จดจำไปอีกนาน แม้จะกลับลำภายหลัง ก็ยากที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้
ผู้ประกอบธุรกิจ เชื่อมั่นว่าจะดำเนินธุรกิจเชิงกีดกันกลุ่มผู้บริโภค ควรตั้งชื่อร้านอาหาร โรงแรม และสินค้าต่าง ๆ ให้ชัดเจนไปเลยว่าต้องการลูกค้ากลุ่มไหน สีไหน วัยไหน นอกจากจะให้ความสะดวกแก่กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ต้องการแล้ว ยังช่วยเรียกกลุ่มที่ต้องการให้มาสนับสนุนธุรกิจด้วย

ในต่างประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค โดยร้านอาหารไม่สามารถปฎิเสธลูกค้าด้วยพื้นฐานของ เพศสภาพ เชื้อชาติ สีผิว หรือศาสนา แต่ร้านอาหารมีสิทธิปฎิเสธลูกค้าที่แต่งกายไม่เหมาะสม หรือมีลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อลูกค้าอื่น ๆ ได้ และมีการฟ้องร้องระหว่างร้านอาหารและลูกค้าที่ถูกปฎิเสธ มากมายตลอดมา
การปฎิเสธกลุ่มลูกค้าในเมืองไทย คงไม่ถึงกับขึ้นโรงขึ้นศาล แต่น่าจับตามองเป็นกรณีศึกษา ว่าจะไปต่อได้ตลอดไปจนกลายเป็นแนวทางการตลาดที่ได้รับความนิยมหรือไม่


เขียนโดย : แพท แสงธรรม นักวิชาการอิสระ ด้าน Communication facilitator และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ระยะเวลามากกว่า 23 ปี

อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปาก “Word - of - Mouth” บอกต่อไว้ให้จำอีกนาน

การบอกต่อ (word-of-mouth) เป็นการตลาดภาคพลเมือง (citizen marketing) คือการที่ผู้บริโภครีวิวสินค้าและบริการด้วยความสมัครใจ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนเอง โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าด้วยความคิดเห็น บทวิเคราะห์ รูปภาพ วิดิโอ หรือจัดทำเป็นโพสต์ในโซเชียลมีเดีย หรือในเว็บไซต์ แต่ความหมายของ “การตลาดภาคพลเมือง” ไม่ได้หมายถึง การชักชวนให้ซื้อสินค้าและบริการเท่านั้น เพราะการรีวิวสินค้าโดยกลุ่มผู้บริโภค อาจจะนำไปสู่การปฎิเสธ หรือการต่อต้านสินค้าและบริการได้เช่นกัน 

การตลาดภาคพลเมือง มีพลัง และมีอิทธิพลอย่างมาก เพราะมาจากคนทั่วไปที่ใช้สินค้าและบริการ ความคิดเห็นต่าง ๆ จึงมีความเป็นอิสระ ไม่ได้มาจากชุดคำพูดที่เอเจนซีโฆษณาสร้างสรรค์ให้ หรือไม่ได้มาจากนักเขียนรีวิว ที่ได้รับค่าตอบแทนจากเจ้าของสินค้าและบริการ

เมื่อมีการรีวิวจากผู้ซื้อหลาย ๆ ราย ที่ให้รายละเอียดต่าง ๆ โดยมีเจตนาที่จะแจ้งให้ผู้คนทั่วไปที่กำลังสนใจในสินค้าหรือบริการได้ทราบถึง ข้อดี ข้อเสีย ความพึงพอใจ ความผิดหวังในคุณภาพและการใช้งาน

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้น สินค้าอุปโภคบริโภคที่อยู่ในตลาดมายาวนาน ผู้ใช้จำนวนมากอาจมีความภักดีในสินค้า (brand loyalty) ในระดับระดับหนึ่ง จากประสบการณ์ส่วนตัวที่พอใจในคุณภาพ จึงไม่มีการรีวิวตัวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดมานานหลายปีมากนัก แต่หากเป็นสินค้าชนิดใหม่ ที่เพิ่งปรากฎในตลาด จะมีการรีวิวมากมาย จากผู้ที่ได้ลองซื้อมาใช้ รีวิวเหล่านี้ มีผลต่อความสำเร็จของสินค้า

ผู้ที่รีวิวสินค้าและบริการเหล่านี้ ใช้สิทธิของผู้บริโภคในการวิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ โดยอาจแชร์ความไม่พอใจ ความแตกต่างจากความคาดหวังและกฎเกณฑ์ส่วนตัว ลักษณะสินค้าที่ไม่ตรงปก บางครั้งมีการแนะให้ปรับปรุงสินค้าราวกับเป็นผู้มีส่วนในการออกแบบและวางแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์ จนถือว่าเป็นผู้บริโภคที่เรียกว่า proactive consumer หรือผู้บริโภคเชิงรุก หรือ prosumer (producer+consumer)

การรีวิวสินค้านั้น เป็นการบอกต่อ (word-of-mouth) ชนิดหนึ่ง ในอดีต การบอกต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคน จนเกิดการรับรู้ในกลุ่มใหญ่ขึ้นนั้นใช้เวลานาน จากหนึ่งคนกว่าจะรู้กันทั้งหมู่บ้าน จนรู้กันทั่วจังหวัดและประเทศอาจต้องใช้เวลาเป็นปี แต่ในยุคดิจิทัล การสื่อสารด้วยโซเชียลมีเดียและอินเตอร์เน็ต ทำให้การบอกต่อ ในลักษณะของการรีวิว ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีที่จะรับรู้กันได้ทั้งโลก !!

การทำการตลาดภาคพลเมือง โดยผู้บริโภคเชิงรุกนั้น สร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบได้รุนแรง มีพลังไม่แพ้การโฆษณาที่ใช้งบประมาณมหาศาล

เหตุการณ์ที่แสดงถึงผลกระทบด้านลบต่อสินค้าและบริการ ที่เริ่มต้นโดย citizen marketing มีให้เห็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเวลาที่สังคมแตกแยก แบ่งฟาก และนำการเมืองเข้ามาปนกับนโยบายการดำเนินธุรกิจ เห็นได้จากเหตุการณ์ที่ผลิตภัณฑ์ขนมปัง ฟาร์มนมสด ร้านสุกี้ ร้านชาไต้หวัน และสินค้าอื่น ๆ ที่ประกาศตัวว่า ไม่ยินดีให้บริการ “สลิ่ม” ไม่ว่านโยบายที่เชื่อมธุรกิจเข้ากับจุดยืนทางการเมืองดังกล่าว จะมาจากเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง หรือคนอื่นถือวิสาสะจัดชุดข้อมูลให้เอง การบอกต่อของสังคมและกลุ่มผู้บริโภค ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจอย่างชัดเจน สินค้าเหลือค้างบนชั้นวางในร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายนมและไอศครีม ซึ่งเคยเป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยม กลายเป็นลูกค้าลดฮวบ 

Citizen marketing ทำโดยผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ และไม่แคร์ว่า ยอดขายจะลด หรือลูกค้าจะหดหาย เพราะไม่ใช่ปัญหาของนักการตลาดภาคพลเมือง ซึ่งโฟกัสไปที่การกระจายข้อมูลให้กว้างที่สุด แรงที่สุด และเร็วที่สุด 

ในขณะที่นักการตลาดมืออาชีพ จะต้องเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายในมิติต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ รสนิยม ไลฟสไตล์ เพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอย่างรอบคอบ นักการตลาดพลเมืองมองสินค้าและบริการแบบแบน ๆ เท่านั้นคือ “เชียร์” หรือ “ต่อต้าน”

การทำการตลาดโดยแสดงการกีดกัน หรือเลือกผู้บริโภค (discriminatory marketing) มีอยู่รอบตัวแต่เราไม่ได้สร้างประเด็น เช่น การตั้งราคาสินค้าให้สูงย่อมเป็นการแบ่งชนชั้น การที่ร้านอาหารตั้งราคาอาหารสูงลิ่ว แม้ว่าคุณภาพและปริมาณอาหารจะไม่ได้ต่างจากร้านทั่วไปมากนัก ถือว่าเป็นการคัดเลือกลูกค้า ร้านกาแฟก็เช่นกัน การทำการตลาดแบบกีดกัน เป็นการเลือกอย่างเต็มใจของผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการ การตั้งราคาสินค้าแพงย่อมมียอดขายน้อยกว่าสินค้าราคาถูกกว่า ร้านอาหารราคาแพง ได้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อมากกว่า แต่ต้องรับแรงกดดันและการคาดหวังของผู้จ่ายเงินเช่นกัน

ในยุคที่บรรยากาศของสังคมเต็มไปด้วยความคับข้องใจทางการเมือง จุดยืนทางการเมืองถูกนำมาใช้ในลักษณะ การตลาดแบบกีดกันมากขึ้น เช่น
>> โรงแรมที่เชียงใหม่ ประกาศตัวว่าไม่ต้อนรับสลิ่ม 
>> ร้านอาหารย่านซอยอารีย์ในกรุงเทพฯ ประกาศตัวว่าพนักงานที่ร้านไม่พูด “นะจ๊ะ” เพื่อเหน็บนายกรัฐมนตรี ถ้าลูกค้าได้ยินขอให้แจ้งทางร้าน จะไล่พนักงานออก 
>> แท็กซี่ติดสติกเกอร์ด้านข้างรถว่า “ไม่รับตำรวจและทหาร” 
>> ร้านขายเนื้อสัตว์และผักสดในตลาด แขวนป้ายประกาศไว้ว่า “ไม่ขายให้ทหารและตำรวจในเครื่องแบบ”

การประกาศแบบกีดกันกลุ่มลูกค้า เป็นสิทธิที่เจ้าของธุรกิจทำได้โดยไม่มีข้อห้าม และเมื่อมี citizen marketing เข้าร่วมช่วยทำการตลาด โดยการบอกต่อ ความต้องการที่จะกีดกันลูกค้ากลุ่มที่ไม่ชอบก็ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่ในขณะที่การกีดกันด้วยราคานั้น สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขไปตามสถานการณ์โดยรอบ เช่น สภาพเศรษฐกิจ โดยการลดราคาให้ถูกกว่าเดิม หรือออกสินค้ารุ่นใหม่ในราคาใหม่

แต่การกีดกันกลุ่มผู้บริโภคด้วยทัศนคติทางการเมือง นอกจากกลุ่มที่ระบุแล้ว ยังมีผลทำให้กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใด เลี่ยงที่จะใช้บริการนั้นด้วย เพราะความรู้สึกว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่รู้จักแยกแยะ และกังวลว่า การไปใช้บริการทั้งในร้านอาหาร พักในโรงแรม หรือขึ้นแท็กซี่ อาจไม่รื่นรมย์ ต้องระวังตัวทั้งคำพูด การแต่งกาย และพฤติกรรมต่าง ๆ จึงขอตัดปัญหาโดยการเลือกผู้ให้บริการรายอื่น และการตีตราให้ธุรกิจนั้นจะเป็นที่จดจำไปอีกนาน แม้จะกลับลำภายหลัง ก็ยากที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

ผู้ประกอบธุรกิจ เชื่อมั่นว่าจะดำเนินธุรกิจเชิงกีดกันกลุ่มผู้บริโภค ควรตั้งชื่อร้านอาหาร โรงแรม และสินค้าต่าง ๆ ให้ชัดเจนไปเลยว่าต้องการลูกค้ากลุ่มไหน สีไหน วัยไหน นอกจากจะให้ความสะดวกแก่กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ต้องการแล้ว ยังช่วยเรียกกลุ่มที่ต้องการให้มาสนับสนุนธุรกิจด้วย

ในต่างประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค โดยร้านอาหารไม่สามารถปฎิเสธลูกค้าด้วยพื้นฐานของ เพศสภาพ เชื้อชาติ สีผิว หรือศาสนา แต่ร้านอาหารมีสิทธิปฎิเสธลูกค้าที่แต่งกายไม่เหมาะสม หรือมีลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อลูกค้าอื่น ๆ ได้ และมีการฟ้องร้องระหว่างร้านอาหารและลูกค้าที่ถูกปฎิเสธ มากมายตลอดมา

การปฎิเสธกลุ่มลูกค้าในเมืองไทย คงไม่ถึงกับขึ้นโรงขึ้นศาล แต่น่าจับตามองเป็นกรณีศึกษา ว่าจะไปต่อได้ตลอดไปจนกลายเป็นแนวทางการตลาดที่ได้รับความนิยมหรือไม่


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top